วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สมุนไพรไทย
แคดอกขาว หรือ ดอกแค ประโยชน์และสรรพคุณของดอกแค
แคดอกขาว (Cork Wood Tree หรือ Sesbania Grandiflora) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกดอกแคบ้าน, ต้นแค หรือแค ส่วนกรุงเทพฯและเชียงใหม่เรียกแคขาว เป็นต้น แคดอกขาวเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออินเดีย เป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินจำนวนมากซึ่งช่วยในการต่อต้านและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย จึงทำให้แคดอกขาวเป็นที่นิยมกัน
ลักษณะทั่วไปของแคดอกขาว
สำหรับต้นแคดอกขาวนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่แตกกิ่งก้านมากโดยไม่เป็นระเบียบ ซึ่งมีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 10 เมตร โดยเปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา เป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกหนาและขรุขระ สามารถขึ้นได้ดีในเขตร้อนชื้น โตเร็ว และสามารถปลูกได้ทุกที่ ส่วนใบเป็นใบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ใบย่อยเล็กรูปขอบขนาน ขอบเรียบ ปลายมนกว้าง มีสีเขียว และดอกแคจะคล้ายดอกถั่ว โดยออกเป็นช่อตามซอกใบ มีกลิ่นหอมสีขาว และผลจะเป็นฝักกลมๆ ยาวๆ เมื่อแก่ฝักจะแตกออกเป็น 2 ซีก นำมารับประทานได้ ส่วนเมล็ดมีเยอะสีน้ำตาล
แคดอกขาว
ประโยชน์และสรรพคุณของแคดอกขาว
ใบ – ช่วยในการแก้ไข้หวัดและถอนพิษไข้ แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ตลอดจนช่วยดับพิษ และถอนพิษ ให้รสจืดมัน
ดอก – ช่วยแก้อาการไข้เปลี่ยนฤดู ให้รสหวานเย็น
เปลือกต้น – ช่วยในการคุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด ตลอดจนช่วยชะล้างบาดแผล และช่วยในการสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ให้รสฝาด
แคดอกขาว


ซึ่งต้นแคดอกขาวนี้จะมีการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด และในจังหวัดนครสวรรค์มักนิยมปลูกต้นแคนี้ไว้เพื่อค้าขายกันมาก นอกจากนี้ยังช่วยในด้านความงามอย่างการชะลอความชรา ป้องกันริ้วรอยแห่งวัย และผิวหนังที่แห้งแตกเป็นขุย รวมทั้งปัญหาเล็บมือหรือเล็บเท้าที่เปราะหรือแตกหักง่ายด้วย


สมุนไพรไทย
กำลังพญาเสือโคร่ง ประโยชน์และสรรพคุณของต้นกำลังพญาเสือโคร่ง
กำลังพญาเสือโคร่ง (Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เชียงใหม่เรียกกำลังเสือโคร่ง ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกเส่กวอเว ชาวลั้วะเรียกลำแคร่ ลำคิแย หรือลำแค และคนเมืองเรียกพญาเสือโคร่ง หรือนางพญาเสือโคร่ง เป็นต้น ซึ่งต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เพาะปลูกกันมากในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่านอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของกำลังพญาเสือโคร่ง
สำหรับต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20 – 40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์
กำลังพญาเสือโคร่ง

ประโยชน์และสรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง
เนื้อไม้, เปลือก – เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงธาตุ แก้อากาปวดเมื่อยตามร่างกาย รวมทั้งช่วยบำรุงกำลัง ช่วยในการเจริญอาหาร บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง และช่วยขับลมในลำไส้ ให้รสมันฝาดติดร้อน

กำลังพญาเสือโคร่ง

นอกจากนี้ ต้นกำลังพญาเสือโคร่งยังมีประโยชน์อีกสารพัด อาทิ สามารถนำไปใช้ในการทำเครื่องเรือน การก่อสร้างต่างๆ หรือทำเป็นพื้นกระดาน ด้ามเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ผสมกับแป้งเพื่อทำเค้กหรือขนมปัง ตลอดจนนำมาทำเป็นกระดาษ และใช้ทำการบูรไว้สำหรับสูดดมอีกด้วย

สมุนไพรไทย
กานพลู ประโยชน์และสรรพคุณของกานพลู
กานพลู (Clove) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ในภาคเหนือเรียกจันจี่ เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย ซึ่งมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวของกานพลู มีรสเผ็ด และมีเพาะปลูกกันมากที่สุดในแถบประเทศอินโดนีเซีย, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา เป็นต้น โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกานพลูนี้มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักนิยมนำมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยไว้สูดดม
ลักษณะทั่วไปของกานพลู
สำหรับกานพลูนั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5 – 10 เมตร เป็นใบเดี่ยวรูปวงรี ออกเรียงแบบตรงข้าม ขอบเป็นคลื่น สีแดงหรือน้ำตาลอมแดง และบริเวณเนื้อใบจะค่อนข้างเหนียวและมัน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ โดยดอกนั้นมักร่วงหล่นจากต้น กลีบดอกมีสีขาว ส่วนกลีบเลี้ยงและฐานดอกจะมีสีแดงหนาๆ แข็งๆ ส่วนผลจะมีลักษณะรูปทรงไข่
กานพลู

กานพลู

กานพลู



ประโยชน์และสรรพคุณของกานพลู
ดอก – ช่วยแก้ธาตุทั้งสี่พิการ แก้โรครำมะนาด ปวดฟัน ช่วยกระจายเสมหะ และแก้เสมหะเหนียว อีกทั้งแก้อาการหืด เลือดออกตามไรฟัน ทำอาหารให้งวด รวมทั้งแก้ปวดท้อง โลหิตเป็นพิษ หรือเหน็บชา ตลอดจนขับน้ำคาวปลา พิษจากน้ำเหลือง ทำให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ แก้ท้องขึ้น ช่วยกดลมให้ลงสู่ที่ต่ำ และช่วยดับกลิ่นเหล้า แก้พิษน้ำเหลือง ให้รสเผ็ดร้อนปร่า
ใบ – นำไปปิ้งไฟสามารถปิดแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือต้มอาบแก้ผื่นคัน ให้รสเย็นจืด
น้ำมันกานพลู – เป็นยาใช้เฉพาะที่ ช่วยในการขับผายลม ระงับอาการกระตุก แก้อาการปวดท้อง ปวดฟัน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด รวมทั้งสามารถนำไปผสมยากลั้วฟัน หรือใช้เป็นยาดับกลิ่นไล่ยุง ตอดจนใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนม สบู่ และยาสีฟัน

กานพลู

ซึ่งกานพลูนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยยุคอียิปต์โบราณเป็นต้นมาเลยทีเดียว ด้วยประโยชน์ที่มีมากมายนี้ทำให้กานพลูเป็นหนึ่งในสมุนไพรเครื่องเทศที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยชาวเอเชียมักนำกานพลูมาปรุงเป็นยาสำหรับรักษาโรค และชาวตะวันตกมักนำกานพลูมาแต่งกลิ่นอาหาร ตลอดจนใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สมุนไพรไทย

กวาวเครือแดง ประโยชน์และสรรพคุณของกวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง (Butea Superb Roxb) เป็นพืชสมุนไพรที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกทองกวาว, ทองเครือ, ตานเครือ, จอมทอง หรือกวาวหัว ส่วนทางภาคอีสานเรียกจานเครือ เป็นต้น เป็นไม้จำพวกหัว มีหัวเป็นลักษณะรูปทรงกระบอกหลายขนาดด้วยกัน โดยจุดเด่นของกวาวเครือแดงคือ เมื่อสะกิดบริเวณเปลือกจะมียางสีแดงข้นๆ คล้ายกับเลือดไหลออกมา
ลักษณะทั่วไปของกวาวเครือแดง
สำหรับกวาวเครือแดงนั้นเป็นไม้เถายืนต้นขนาดใหญ่ โดยเถาจะใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นต้นตามแต่อายุของต้นกวาวเครือแดง ใบนั้นค่อนข้างคล้ายใบทองกวาวแต่จะใหญ่กว่ามากเมื่อโตเต็มที่ ส่วนบริเวณโคนต้นกวาวเครือแดงจะมีรากขนาดใหญ่ประมาณน่องขาของเรา ยาวประมาณ 2 วาได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของลำต้น มักชอบขึ้นตามภูเขาสูง มีดอกสีส้มอมเหลืองคล้ายดอกทองกวาวเช่นกัน จะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่ปัจจุบันนั้นค่อนข้างหายาก
กวาวเครือแดง

ประโยชน์และสรรพคุณของกวาวเครือแดง
หัว – ช่วยในการบำรุงรักษาผิวพรรณให้เต่งตึง กระชับ บำรุงความกำหนัด เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ ตลอดจนแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกใหญ่ และเมามากกว่ากวาวเครือขาว ให้รสเมาเบื่อ
เปลือกเถา – ช่วยแก้พิษงู และแก้อาการตกเลือด ให้รสเมาเบื่อ
เถาและใบ – ช่วยในการกระตุ้นความกำหนัด แก้ปวดรอบเดือน รวมทั้งแก้อาการปวดท้อง และช่วยรักษาโรคผิวหนัง อย่างหูด หรือผื่นคัน ให้รสเมาเบื่อ
กวาวเครือแดง

โดยสมุนไพรกวาวเครือแดงนี้เป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่าเหมาะกับคุณผู้ชายเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกายแล้ว ที่สำคัญคือช่วยในเรื่องของสมรรถนะทางเพศ ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ดีเช่นเดียวกับไวอากร้า ซ้ำยังช่วยเพิ่มจำนวนของอสุจิด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ควรรับประทานมากเกินขนาด เพราะผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ถือว่าอันตรายและมีพิษมากกว่ากวาวเครือขาว
สมุนไพรไทย

กระเจี๊ยบ สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบ ที่คุณอาจคาดไม่ถึง!!

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ

ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
หมวด : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
อันดับ : Malvales
วงศ์ : Malvaceae
สกุล : Hibiscus
สปีชีส์ : H. sabdariffa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วิธีการทำน้ำกระเจี๊ยบเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
นำเมล็ดกระเจี๊ยบพร้อมกลีบเลี้ยงที่โตเต็มที่ มีสีแดงจัดมาตากจนแห้ง จากนั้นนำมาล้างน้ำและพักเอาไว้ นำน้ำมาต้มให้เดือดจากนั้นนำกระเจี๊ยบแห้งที่เตรียมไว้ลงไปต้มประมาณ 20-30 นาที จะได้น้ำกระเจี๊ยบสีแดงเข้ม ยกออกกรองด้วยผ้าขาวบาง จะได้น้ำกระเจี๊ยบที่มีรสเปรี้ยว นำน้ำที่กรองได้มาเติมน้ำตาลทรายให้มีความหวานปนเปรี้ยว เทใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ดื่มได้นานหลายวัน ^ ^
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ ในทางยา
- ผลอ่อน สามารถรับประทานเพื่อขับพยาธิ
- น้ำกระเจี๊ยบช่วยบำรุงเลือด
- น้ำกระเจี๊ยบช่วยลดอาการไอ
- ผลกระเจี๊ยบช่วยขับปัสสวะ เป็นยาระบาย
- น้ำกระเจี๊ยบมีวิตามินซีสูง ช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟัน
- น้ำกระเจี๊ยบช่วยรักษาอาการต่อมลูกหมากโต
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ

เห็นมั๊ยครับว่ากระเจี๊ยบมีประโยชน์หลากหลาย นอกจากในด้านเป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย ประโยชน์ของกระเจี๊ยบในทางยาก็มีไม่น้อย เพื่อนๆลองซื้อกระเจ๊ยบแห้ง (มีขายตามร้าน Discount store ทั่วไป) มาต้มดื่มดูนะครับ แล้วจะติดใจ…

สมุนไพรไทย

กรรณิการ์ ลักษณะทั่วไป ประโยชน์และสรรพคุณของกรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
อาณาจักร : Plantaeประโยชน์และสรรพคุณของกรรณิการ์
สำหรับประโยชน์และสรรพคุณของกรรณิการ์นั้นมีมากมายตั้งแต่ลำต้น เปลือก ดอก ใบ ยันรากเลยทีเดียว โดยสรรพคุณของกรรณิการ์มีดังนี้
ลำต้น – ใช้สำหรับแก้อาการปวดศีรษะ แก้ไข้ ปวดข้อ โดยมีรสขมเย็น หวานๆ ฝาดๆ
เปลือก – นำเปลือกทั้งต้นชั้นในมาต้มสำหรับดื่มแก้อาการปวดศีรษะได้ดี ให้รสขมเย็น
ดอก – ใช้สำหรับแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้ไข้ ให้รสขมหวาน
ใบ – ใช้แก้แก้อาการไข้ ปวดข้อ ตานขโมย บำรุงน้ำดี ตลอดจนเจริญอาหาร ให้รสขม
ราก – ช่วยแก้อาการไอ แก้พรรดึก (อุจจาระที่แห้งติดอยู่กับผนังลำไส้ทำให้ถ่ายลำบาก) ท้องผูก แก้ลมและดี บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ผมหงอก ตลอดจนบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ให้รสขม หวานๆ ฝาดๆ
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่ากรรณิการ์นั้นเป็นพืชสมุนไพรมีในไทยตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ จากเดิมมีถิ่นกำเนิดในตอนกลางของอินเดีย และสามารถขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง ซึ่งนับได้ว่ากรรณิการ์นั้นเป็นพืชของไทยที่มีอายุมานานนับร้อยปีเลยทีเดียว
หมวด : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
อันดับ : Scrophulariales
วงศ์ : Oleaceae
สกุล : Nyctanthes
สปีชีส์ : N. arbor-tristis
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbor-tristis L.
ชื่อสามัญ : Night blooming jasmine
ลักษณะทั่วไปของกรรณิการ์

สำหรับต้นกรรณิการ์นั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 3 – 5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลขรุขระ ใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน โดยดอกจะออกเป็นช่อช่อละประมาณ 3 – 7 ดอก สีขาว มีกลิ่นหอม ส่วนผลของกรรณิการ์นั้นจะเป็นรูปไข่กลับ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ส่วนผลที่แก่จัดจะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดซีกละหนึ่งเมล็ด กลมแบนสีน้ำตาล